loader

กฎหมายภาษี E Service บังคับใช้แล้ว 1 ก.ย. 64


ลงวันที่ :: 2 กันยายน 2564 จำนวนผู้เข้าดู :: 1627

 

กฎหมายภาษี E Service บังคับใช้แล้ว 1 ก.ย. 64

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 53) พ.ศ.2567 ซึ่งจะเป็นการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จากผู้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศที่มีรายได้ในประเทศไทยจาก เช่น Facebook, Google, Youtube, Netflix โดย พ.ร.บ. จะมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2564

ทำไมต้องมีกฎหมาย พรบ. อีเซอร์วิส นี้

เนื่องจากขณะนี้พฤติกรรมผู้บริโภคมีการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์จากต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมากโดยการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม จากแพลตฟอร์มดิจิทัลจากต่างประเทศ เป็นข้อจำกัดทั้งจากกฎหมายภายในและตามอนุสัญญาภาษีซ้อน แต่เนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ส่งผลให้นรูปแบบการให้บริการผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ข้ามประเทศทำได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น และเป็นเรื่องที่หน่วยงานจัดเก็บภาษีทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญ เพราะต้องการสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้ประกอบการภายในประเทศที่ต้องเสียภาษี โดยขณะนี้มีประเทศที่บังคับใช้กฎหมายแล้วกว่า 60 ประเทศ เช่น อเมริกา อังกฤษ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย เป็นต้น จึงต้องมีการปรับปรุงกฎหมายในการจัดเก็บภาษีให้สอดคล้องกับระบบเศรษฐกิจดิจิทัล

กฎหมายบังคับใช้อย่างไร

เมื่อถึงกำหนดที่กฎหมายมีผลใช้บังคับในวันที่ 1 กันยายน 2564 ผู้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศแก่ผู้ใช้ที่ไม่ใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ดังนี้

1. จะมีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี และมีหน้าที่ยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

2. เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จากยอดขายโดยไม่ให้นำภาษีซื้อมาหัก

 โดยผู้ให้บริการแพลตฟอร์มต่างประเทศสามารถยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านทาง online ได้

ผลกระทบที่อาจะเกิดขึ้นกับผู้ใช้บริการ

1.กรณีผู้ใช้บริการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่แล้ว ต้องเพิ่มหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกต้องในบัญชีของคุณแล้ว Facebook จะไม่บวกภาษีมูลค่าเพิ่มในการซื้อโฆษณาบน Facebook

คลิก วิธีเพิ่มเลขประจำตัวผู้เสียภาษี

https://www.accrevo.com/articles/item/172

กฎหมายเดิมกำหนดไว้ว่าให้ผู้ใช้บริการในประเทศมีหน้าที่ยื่นเสียภาษีแทนผู้ให้บริการ โดยยื่นแบบ ภพ 36 อยู่แล้ว ก็ยังคงต้องปฏิบัติ ดังนี้

- จ่ายค่าบริการเท่าเดิม

- ต้องนำส่ง ภ.พ. 36

- ยืนแบบ ภ.พ. 36 (ดาวน์โหลด ภ.พ. 36 ได้ที่ www.rd.go.th)

ขั้นตอนการขอคืนภาษีซื้อจากค่าโฆษณา Facebook

- ค่าโฆษณานั้นต้องเป็นการโฆษณาเพื่อบริษัทเท่านั้น

- มีหลักฐานการจ่ายที่ชัดเจน เช่น พริ้นท์ใบเสร็จและเปลี่ยนชื่อผู้จ่ายเงินเป็นบริษัทจะทำให้ตรวจสอบง่ายขึ้น

- นำใบเสร็จรับเงินที่ได้จากกรมสรรพากร ไปทำเรื่องขอคืนภาษีซื้อได้ในเดือนถัดไป

กรณีธุรกิจจด VAT แต่ไม่ได้แจ้งเลขผู้เสียภาษีจะถูกเรียกค่าเก็บบริการเพิ่ม 7%

2.กรณีผู้ใช้บริการเป็นไม่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ผู้ให้บริการจะเรียกเก็บต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 7% ให้ผู้บริโภคในไทยเป็นผู้รับผิดชอบ ตามหลักการของภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกเก็บภาษีจากผู้ใช้บริการคนสุดท้าย (End user)

- ผู้ประกอบการที่ไม่จด VAT ให้ทำตามขั้นตอนดังนี้

- จ่ายค่าบริการ+VAT เรียกเก็บเพิ่ม 7%

- ไม่ต้องนำส่ง ภ.พ. 36

3.สำหรับผู้ให้บริการแพลตฟอร์มต่างประเทศ

ทำธุรกรรมภาษี e-Service ผ่านระบบ VES หรือ VAT for Electronic Service

3 Step ง่ายผ่านระบบ VES 

- Step 1 จดทะเบียน

จดทะเบียนผ่านระบบ VES คลิก https://bit.ly/VESregistrations

โดยผู้ประกอบการ ต้องจัดเตรียมเอกสารเพื่อใช้ในการจดทะเบียน

หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท (ภาษาอังกฤษ) ระบุปีที่ก่อตั้ง และประเทศที่ก่อตั้ง

- Step 2 ยื่นแบบ

เมื่อจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (P.P. 30.9) ทุกเดือน ตั้งแต่วันที่ 1 - 23 ของเดือนถัดไป บนระบบ VES ผ่าน

 www.rd.go.th โดยไม่ต้องออกใบกำกับภาษี

- Step 3 ชำระภาษี

ชำระภาษีภายในวันที่ 1 - 23 ของเดือนที่ยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (P.P. 30.9) สามารถชำระภาษีได้ 2 ช่อง

 โอนเข้าบัญชีเงินฝากของกรมสรรพากรโดยตรง

 บัตรเครดิต


‎#eservice #tax #VATforElectronicService #eservice #onlineservices #nonresidentplatform #easytax #RD

 


ADMIN ATSI


Association of Thai Software Industry

ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ให้มีศักยภาพ และมาตรฐานที่สามารถแข่งขันกับซอฟต์แวร์ต่างประเทศทั้งในระยะสั้นและระยะยาว สนับสนุนการลงทุนด้านธุรกิจซอฟต์แวร์จากภายในและจากภายนอกประเทศ โดยอำนวยความสะดวกและการให้บริการต่างๆ อย่างเต็มที่ ชักจูงให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการผลิตซอฟต์แวร์ และเทคโนโลยีจากด้านอื่น จากแหล่งต่างๆ ทั่วโลกมายังประเทศไทย เสริมสร้างให้เกิดสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินการผลิตและพัฒนา ซอฟต์แวร์ให้มีคุณภาพ และมีผลผลิตสูงขึ้นเพียงพอกับความต้องการภายในประเทศ ตลอดจนเพียงพอกับความต้องการเพื่อการส่งออกในอนาคต ส่งเสริมวิชาชีพและการพัฒนาบุคลากรด้านซอฟต์แวร์ทุกระดับให้กว้างขวางและปฏิบัติงานได้จริง

Facebook ATSI