loader

ทีเอชนิค เดินหน้าโครงการ Universal Acceptance (UA) ในประเทศไทย เพื่ออินเทอร์เน็ตสำหรับคนไทยทุกคน


ลงวันที่ :: 23 พฤศจิกายน 2563 จำนวนผู้เข้าดู :: 1059

 

มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย เป็นองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมและอำนวยการความสะดวกในการใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย รวมทั้งการบริหารจัดการชื่อโดเมน ระดับบนสุดรหัสประเทศ (Country-Code Top Level Domain หรือ ccTLD) .th และ .ไทย

เนื่องจากระบบชื่อโดเมนในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไป โดยสามารถตั้งช่ือเป็นภาษาไทย และมีชื่อโดเมนใหม่ๆมากมาย แต่การใช้งานชื่อโดเมนและชื่ออีเมลภาษาไทยยังไม่เป็นที่แพร่หลาย และยังพบว่าซอฟต์แวร์ อุปกรณ์  และระบบงานที่พัฒนาในประเทศไทยส่วนใหญ่ ไม่สามารถจัดการชื่อโดเมนระดับบนสุดใหม่ๆ รวมทั้งยังไม่สามารถจัดการชื่ออีเมลภาษาท้องถิ่นและภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง 

มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทยจึงได้จัดตั้งโครงการ UA Local Initiative ขึ้นในประเทศไทย โดยการสนับสนุนของ Internet Cooperation for Assigned Names and Numbers (ICANN) ซึ่งเป็นองค์กรสากลที่ทำหน้าที่ในการบริหารงานและพัฒนาระบบชื่อโดเมนโลก เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของ Universal Acceptance (UA) หรือการที่แอปพลิเคชันและอุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถจัดการชื่อเว็บไซต์และชื่ออีเมลในภาษาใดก็ได้ เช่นการที่โปรแกรมรับส่งอีเมลยอมรับค่า  “สมชาย@คน.ไทย” เป็นชื่ออีเมลที่ถูกต้องและส่งอีเมลไปยังผู้รับได้ หรือหรือการที่เบราเซอร์ยอมรับค่า “บ้านผือ.ไทย” เป็นชื่อโดเมน (เว็บไซต์) ที่ถูกต้องและไปยังหน้าเว็บไซต์ที่ต้องการได้

UA Local Initiative นี้ยังมุ่งให้ความรู้แก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยเฉพาะนักพัฒนาซอฟต์แวร์, นักพัฒนาเว็บไซต์ และผู้ดูแลระบบ ให้สามารถปรับปรุงและพัฒนาระบบให้รองรับการทำงานกับชื่ออีเมลภาษาท้องถิ่น (Email Address Internationalization (EAI))

Web Page: https://thnic.or.th/ua-launched/
FB: https://www.facebook.com/THNIC.Foundation/posts/3623792167642424

 


ADMIN ATSI


Association of Thai Software Industry

ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ให้มีศักยภาพ และมาตรฐานที่สามารถแข่งขันกับซอฟต์แวร์ต่างประเทศทั้งในระยะสั้นและระยะยาว สนับสนุนการลงทุนด้านธุรกิจซอฟต์แวร์จากภายในและจากภายนอกประเทศ โดยอำนวยความสะดวกและการให้บริการต่างๆ อย่างเต็มที่ ชักจูงให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการผลิตซอฟต์แวร์ และเทคโนโลยีจากด้านอื่น จากแหล่งต่างๆ ทั่วโลกมายังประเทศไทย เสริมสร้างให้เกิดสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินการผลิตและพัฒนา ซอฟต์แวร์ให้มีคุณภาพ และมีผลผลิตสูงขึ้นเพียงพอกับความต้องการภายในประเทศ ตลอดจนเพียงพอกับความต้องการเพื่อการส่งออกในอนาคต ส่งเสริมวิชาชีพและการพัฒนาบุคลากรด้านซอฟต์แวร์ทุกระดับให้กว้างขวางและปฏิบัติงานได้จริง

Facebook ATSI